สํานักมาตรฐานเรือ มีอํานาจหน้าท่ดีังต่อไปนี้
(๑) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจสภาพเรือ เครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องใช้ประจําเรือ เพื่อออกใบสําคัญรับรองตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ
(๒) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ ตลอดจนติดตามการปรับปรุงแก้ไขอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจเรือ สําหรับเรือต่างประเทศที่เดินเรือเข้ามาในน่านน้ําไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นหรืออนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ
(๔) ดําเนินการเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานเรือ อุปกรณ์ประจําเรือ และการตรวจรับรองวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ประจําเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
(๕) ดําเนินการเกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์และกํากับดูแลองค์กรที่ได้รับมอบอํานาจให้ทํา การตรวจเรือและออกใบสําคัญรับรองตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมาย
สำนักมาตรฐานเรือ โครงสร้างการแบ่งหน่วยงานภายใน ดังนี้
1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่
1.1 รับผิดชอบงานด้านสารบรรณ (รับ ส่ง ร่าง โต้ตอบ เก็บ ค้นและพิมพ์) ของสำนัก 1.2 รับผิดชอบงานงบประมาณ การเงินและบัญชี พัสดุและการเจ้าหน้าที่ของสำนัก 1.3 รวบรวมจัดทำสถิติและรายงานที่เกี่ยวข้อง 1.4 จัดทำระเบียบการฝึกอบรม ระเบียนผู้เชี่ยวชาญตามสายงาน และจัดทำเอกสารคูณสมบัติของบุคลากร 1.5 ปฏิบัติงานธุรการทั่วไปของสำนัก ตามที่ได้รับมอบหมาย |
2. ส่วนตรวจสภาพเรือ มีหน้าที่
2.1 ตรวจสภาพเรือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ประจำเรือ เพื่อออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือตามกฎข้อบังคับ สำหรับการตรวจเรือซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และพระราชบัญญัติเรือไทย 2.2 ตรวจสภาพเรือ เครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องใช้ประจำเรือ เพื่อออกใบสำคัญรับรองตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี และตามพันธะกรณีที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศ และตามข้อกำหนดในความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการอำนวยประโยชน์ต่อการเดินเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศของเรือไทย 2.3 เสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข กฎ ข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ 2.4 พิจารณากำหนดประเภทการใช้เรือ เขตการเดินเรือ จำนวนและชั้นของคนประจำเรือ 2.5 ตรวจความเสียหายของเรือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ 2.6 ให้คำปรึกษาแนะนำ กำกับดูแล และควบคุมการต่อหรือซ่อมทำเรือ 2.7 กำกับดูแลสมาคมจัดชั้นเรือที่ได้รับมอบอำนาจตรวจเรือและออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือให้เป็นไปตามข้อตกลงหรือแนวทางการปฏิบัติงานขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ 2.8 จัดทำข้อกำหนด เกณฑ์มาตรฐานของเรือไทยที่เดินภายในประเทศ และระหว่างประเทศเพื่อออกเป็นกฎบังคับ 2.9 จัดทำและปรับปรุง ระเบียบปฏิบัติ และคู่มือการตรวจเรือให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับและข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศ 2.10 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย |
3. ส่วนตรวจแบบเรือ(วิศวกรรมเรือและนวัตกรรม) มีหน้าที่
3.1 ตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือทั้งด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรม สาขา อื่นๆ ให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบกฎข้อบังคับและข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 3.2 คำนวณขนาดตันกรอสส์ ตันเนต และกำหนดแนวน้ำบรรทุกของเรือให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎข้อบังคับ สำหรับการตรวจเรือ และอนุสัญญาระหว่างประเทศ 3.3 ศึกษาและจัดทำข้อกำหนดและมาตรฐานเรือ ว่าด้วยโครงสร้างและความแข็งแรงของเรือตลอดจนพัฒนาและ จัดทำแบบมาตรฐานเรือประเภทต่างๆ 3.4 ติดตามการพัฒนาของเทคโนโลยีในการออกแบบและต่อสร้างเรือ 3.5 เสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข กฎข้อบังคับ สำหรับการตรวจเรือ 3.6 ศึกษาและจัดทำข้อมูลเอกสารทางวิชาการ ตลอดจนให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะในด้านการออกแบบและก่อสร้างเรือ 3.7 ศึกษาและติดตามข้อกำหนดภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลบังคับใช้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงข้อ กำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศ |
4. ส่วนควบคุมเรือในเมืองท่า มีหน้าที่
4.1 ตรวจเรือต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในน่านน้ำไทย ตามกฎข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือความตกลงระ หว่าง ประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกและตามพันธกรณีที่ต้องดำเนินการตามความตกลงระหว่างประเทศ 4.2 เสนอแนะเพื่อปรับปรุง แก้ไข กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจและควบคุมเรือในเมืองท่า 4.3 จัดทำและรายงานสรุปผล การตรวจและควบคุมเรือในเมืองท่าไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.4 ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะแก่เรือไทย ในกรณีประสบปัญหาด้านการตรวจและควบคุมเรือ ในเมืองท่าต่างประเทศ 4.5 ประสานงานและให้ความร่วมมือตามข้อกำหนดของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการควบคุมเรือในเมืองท่าใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และภาคภูมิอื่นๆ 4.6 ติดตาม ทบทวน และรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักมาตรฐานเรือ 4.7 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
|
5. ส่วนมาตรฐานอุปกรณ์ประจำเรือ มีหน้าที่
5.1 กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ประจำเรือ หรือกำหนดมาตรฐานด้านวิธีปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในเรือ 5.2 ตรวจสอบเพื่อการรับรองวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ประจำเรือ 5.3 ตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานของผู้ประกอบการที่รับมอบอำนาจ ในการให้บริการตรวจรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ประจำเรือ 5.4 ติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของมาตรฐานสากลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ประจำเรือ 5.5 ติดตามการพัฒนาของเทคโนโลยีในการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ประจำเรือ 5.6 เสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข กฎข้อบังครับ สำหรับการตรวจเรือ 5.7 ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะด้านมาตรฐานอุปกรณ์ประจำเรือแก่ผู้ขอรับบริการ 5.8 จัดทำแผนงานของสำนักมาตรฐานเรือในด้านต่างๆ เช่นงานวิชาการ งานพัฒนากฎข้อบังคับการฝึกอบรม และพัฒนาความรู้ความสามารถเจ้าพนักงานตรวจเรือ 5.9 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย |